กู้ซื้อบ้านจะเลือกดอกเบี้ยบ้านแบบไหนดี | วิธีเลือกสินเชื่อบ้าน | อัตราดอกเบี้ยบ้าน 2562

กู้ซื้อบ้านจะเลือกดอกเบี้ยบ้านแบบไหนดี | วิธีเลือกสินเชื่อบ้าน


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

กู้ซื้อบ้านจะเลือกดอกเบี้ยบ้านแบบไหนดี | วิธีเลือกสินเชื่อบ้าน
สวัสดีครับผม วิน Guru Living ครับ วันนี้ผมจะคุยกับหัวข้อที่ได้รับความสนใจมากๆและผมเชื่อว่าต้องเป็นปัญหาของหลายๆคนแน่ๆครับ นั่นคือ เวลาที่เราจะกู้ขอสินเชื่อบ้านเราจะเลือกดอกเบี้ยบ้านแบบไหนดี ดอกเบี้ยบ้านแบบไหนที่เหมาะกับเราคลิปนี้ผมจะมาสรุปให้ฟังครับ
ลักษณะของดอกเบี้ยบ้านที่เราจะมาคุยกันวันนี้นะครับมันจะแบ่งได้ 2 แบบหลักๆครับนั่นคือแบบคงที่และแบบลอยตัวครับ
ดอกเบี้ยบ้านแบบคงที่คือ
ดอกเบี้ยบ้านที่ธนาคารจะกำหนดเป็นค่าตายตัวเลยครับว่าปีที่เท่านี้เราจ่ายดอกเบี้ยเท่าไหร่ยกตัวอย่างเช่นบางธนาคารบอกว่าให้อัตราดอกเบี้ยคงที่
ปีที่ 1 2.5%
ปีที่ 2 2.8%
ปีที่ 3 3%
ดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายให้กับธนาคารก็จะเป็นไปตามที่ตกลงตามนี้เลยครับไม่มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลง
แต่สำหรับดอกเบี้ยบ้านอีกแบบนะครับเรียกว่าดอกเบี้ยแบบลอยตัวครับ
ขึ้นดอกเบี้ยแบบลอยตัวนี้ครับอัตราดอกเบี้ยจะถูกหรือแพงจะขึ้นอยู่กับค่าที่เรียกว่า MRR ครับ Minimum Retail Rate อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารปล่อยให้กับลูกค้ารายย่อยนะครับก็คือถ้าเรากู้สินเชื่อบ้านหรือว่าสินเชื่อส่วนบุคคลเนี่ยเราก็จะใช้ค่า mrr ตัวนี้ล่ะครับในกรณีเราเป็นลูกค้ารายย่อยทั่วไป
โดยถ้าเป็นดอกเบี้ยแบบลอยตัวธนาคารก็อาจจะกำหนดว่าเช่น
ปีที่ 1 MRR 4
ปีที่ 23 MRR 3
ซึ่งถ้าธนาคารให้อัตราดอกเบี้ยมาแบบนี้ครับเราก็ต้องมาดูค่า mrr ปัจจุบันของธนาคารนั้นๆครับว่าตอนนี้ MRR ของเขาอยู่ที่เท่าไร
ยกตัวอย่างให้ดูแบบเห็นภาพชัดๆเลยนะครับสมมุติว่าผมไปกู้เงิน
ธนาคาร A ตอนนี้ mrr ของธนาคารนี้อยู่ที่ 6%
ถ้าแทนค่าจากโจทย์ด้านบนจะได้เป็น
ปีที่ 1 MRR 4 = 64 = 2%
ปีที่ 23 MRR 3 = 6 3 = 3%
สวัสดีครับก็เป็นทั้ง 2 รูปแบบของอัตราดอกเบี้ยนะครับซึ่งโดยปกติเวลาเราไปกู้ซื้อบ้านหรือรีไฟแนนซ์บ้านครับเราจะต้องเลือกว่าเราจะเลือกแบบไหน
มาถึงคำถามสำคัญนะครับว่าตกลงแบบไหนดีกว่ากันนะครับ
โดยส่วนมากแล้วนะครับ ถ้าเราเลือกอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวครับอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยแล้วจะถูกกว่าแบบคงที่มากๆครับเพราะธนาคารไม่จำเป็นต้องแบกความเสี่ยง
ความเสี่ยงอะไรรู้ไหมครับ ถ้าเราเลือกอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวครับอัตราดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายธนาคารจะขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยนโยบายโดยรวมของประเทศครับ ดังนั้นครับหมายความว่าถ้าช่วงไหนอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศลดลงช่วงนั้นเราก็จะจ่ายดอกเบี้ยต่ำไปด้วยครับ เหมือนช่วงเวลานี้นะครับที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายค่อนข้างต่ำ แต่ในทางกลับกันครับ ถ้าเกิดว่าช่วงไหนอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับขึ้นหมายความว่าเราต้องจ่ายดอกเบี้ยใน Rate ที่แพงขึ้นเหมือนกันครับ
ซึ่งจริงๆแล้วแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายครับ ของประเทศต่างๆทั่วทั้งโลกเลยนะครับจริงๆมันมีแนวโน้มเป็น Down Trend หรือจะลดลงเรื่อยๆครับ แต่มันก็มีบางช่วงเวลาเหมือนกันนะครับที่ดอกเบี้ยนโยบายปรับตัวขึ้นดังนั้นก็เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังและทำความเข้าใจกันนะครับ

See also  แผนธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ SSRU. | แผน ธุรกิจ อาหาร เพื่อ สุขภาพ

แต่สำหรับคนที่เลือกอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่หรือที่เรียกว่า Fix Rate นะครับ ผมต้องบอกว่าการเลือกแบบนี้ครับเราไม่ต้องสนใจเศรษฐกิจไม่ต้องสนใจดอกเบี้ยนโยบายว่าเขาจะเพิ่มหรือเขาจะลดเลยครับเราจ่ายดอกเบี้ยตามแต่ตกลงกับธนาคารเลย

ดังนั้นครับกลับมาคำถามเลยว่าตกลงเราควรเลือกอะไรดีครับของผมนะครับเอาที่เราสบายใจครับถ้าเกิดว่าเราคาดการณ์ว่าดอกเบี้ยนโยบายจะลดลงเรื่อยๆนะครับเราก็อาจจะเลือกเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวก็ได้เพราะเราจะได้ดอกเบี้ยที่ถูกลงเรื่อยๆครับแบบนี้ก็โอเคหรือถ้าใครเป็นคนไม่ชอบเสี่ยงหรือไม่ชอบลุ้นนะครับอยากได้อะไรที่มันคงที่เป็นตัวเลขที่สามารถคำนวณได้ก็อาจจะเลือกเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ซึ่งมันก็ไม่มีผิดไม่มีถูกนะครับ
ต้องบอกอย่างนี้นะครับว่าอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันสัก 12 เปอร์เซ็นต์ สำหรับบางคนเขายอมแลกมาครับเพื่อความสบายใจเล็กๆน้อยๆนะไม่ต้องมากังวลว่าต่อให้เศรษฐกิจมันเปลี่ยนแปลงไปขนาดไหนต่อให้ดอกเบี้ยมันขึ้นขนาดไหนเขาก็ยังจ่ายในอัตราที่เขายอมรับได้แบบนี้มันก็มีเหมือนกันนะครับสุดท้ายก็ลองไปพิจารณากันดูนะฮะ

ดอกเบี้ยบ้าน กู้บ้าน เลือกดอกเบี้ยบ้าน ดอกเบี้ย สินเชื่อบ้าน

กู้ซื้อบ้านจะเลือกดอกเบี้ยบ้านแบบไหนดี  | วิธีเลือกสินเชื่อบ้าน

ธนาคารกสิกรไทย (KBANK)ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย MRR5.97 % MLR 5.47% และ MOR 5.84% เริ่ม 22/05/2563


ธนาคารกสิกรไทย (KBANK)ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย MRR เหลือ 5.97 % MLR เหลือ 5.47% และ MOR เหลือ 5.84% เริ่ม 22/05/2563
อัพเดทข่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ต่างๆนะครับ ครั้งนี้เป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกสิกรไทย (KBANK)ครับโดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในครั้งนี้เป็นผลมาจากการประกาศปรับดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยในวันที่
20/05/2563 รายละเอียดประกาศมีดังต่อไปนี้ครับ
นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่าธนาคารกสิกรไทยพร้อมเดินหน้าช่วยเหลือลูกค้าธนาคารอย่างต่อเนื่อง ด้วยการตอบสนองการลดลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้ถึงมือลูกค้าทุกกลุ่มทันที โดยธนาคารปรับลดอัตราดอกเบี้ย MOR ลงสูงสุดถึง 0.38% ทำให้อัตราดอกเบี้ย MOR คงเหลือเพียง 5.84% อีกทั้งธนาคารยังได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR และ MRR ลงอีก 0.13% ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยคงเหลือ 5.47% และ 5.97% ตามลำดับ เพื่อเป็นการเน้นย้ำถึงความตั้งใจของธนาคารในการช่วยประคับประคองสภาพคล่องและลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับลูกค้าของธนาคาร โดยเฉพาะลูกค้าบุคคลและลูกค้าผู้ประกอบการ เพิ่มเติมจากมาตรการต่าง ๆ ที่ได้ออกมาก่อนหน้า ซึ่งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้จะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญในการช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศให้ค่อย ๆ ฟื้นตัวและเดินหน้าไปได้ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. 2563 เป็นต้นไป
MRR / MOR คืออะไร : https://youtu.be/OBOLLWAmXiw
ดอกเบี้ยบ้าน mrr สินเชื่อบ้าน กสิกร kbank สินเชื่อบ้าน mor ดอกเบี้ยบ้านกสิกร กสิกรลดดอกเบี้ยบ้าน ลดดอกเบี้ย กสิกรลดดอกเบี้ย

See also  ขั้นตอนการบันทึกข้อมูลภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภงด.3 /ยื่นแบบออนไลน์ระบบใหม่ ไม่ต้องดาวน์โหลดโปรแกรม | ชําระภาษีผ่าน e-payment

ธนาคารกสิกรไทย (KBANK)ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย MRR5.97 %  MLR 5.47% และ MOR 5.84% เริ่ม 22/05/2563

ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย MRR MLR และ MOR เริ่ม 22/05/2563


อัพเดทข่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ต่างๆนะครับ ครั้งนี้เป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารไืทยพาณิชย์(SCB)ครับโดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในครั้งนี้เป็นผลมาจากการประกาศปรับดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยในวันที่
20/05/2563 รายละเอียดประกาศมีดังต่อไปนี้ครับ
นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า จากมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มทยอยเข้าสู่ช่วงสภาวะปกติ เพื่อเร่งการฟื้นตัวของฐานะการเงินในภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนให้กลับมาโดยเร็ว ธนาคารฯ จึงได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภทเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบภาระต้นทุนดอกเบี้ยของลูกค้าธนาคารฯ โดยเร่งด่วน นับเป็นการลดดอกเบี้ยติดต่อกันต่อเนื่อง ซึ่งจะมีส่วนสนับสนุนด้านสภาพคล่องให้แก่ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนหลังจากที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด Covid19 ในหลายเดือนที่ผ่านมา
MLR (Minimum Loan Rate) ปรับลดจาก 5.375% เป็น 5.25% ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในระบบธนาคาร
MOR (Minimum Overdraft Rate) ปรับลดลงจาก 6.095 % เป็น 5.845%
MRR (Minimum Retail Rate) ปรับลดลงจาก 6.345 % เป็น 5.995 % ซึ่งปรับลดลงมากที่สุดในระบบธนาคาร สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่นี้
จะมีผลตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป
ธนาคารฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การลดดอกเบี้ยดังกล่าวจะมีส่วนช่วยให้ลูกค้าธุรกิจและลูกค้าสินเชื่อรายย่อยมีต้นทุนทางการเงินที่ลดลง และช่วยให้ลูกค้าสามารถก้าวผ่านวิกฤตนี้ไปได้ในที่สุด ทั้งนี้นอกจากมาตรการลดดอกเบี้ยแล้ว ธนาคารฯ ยังสนับสนุนแนวทางการปรับโครงสร้างหนี้ และการให้สภาพคล่องเพิ่มเติมผ่านสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) ให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบอีกด้วย
MRR / MOR คืออะไร : https://youtu.be/OBOLLWAmXiw

See also  ไอ้ระยำ#ทนาย เครดิต เจ้าปู่ | เครดิด

ดอกเบี้ยบ้าน mrr สินเชื่อบ้าน อัตราดอกเบี้ยบ้าน ธนาคารไทยพาณิชย์ ไทยพาณิชย์ ไทยพาณิชย์สินเชื่อ ไทยพาณิชย์ดอกเบี้ย SCB MLR MOR ลดอัตราดอกเบี้ย

ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย MRR MLR  และ MOR เริ่ม 22/05/2563

#คุยต้องรวย “รีไฟแนนซ์,ดอกเบี้ยลอยตัว” เข้าใจง่ายในคลิปนี้!!!


หลายๆคนอาจจะยังไม่เข้าใจว่า การรีไฟแนนซ์,ดอกเบี้ยลอยตัว คืออะไร
ถ้าอยากจะแก้ปัญหาด้านการเงินก็ต้องรู้กันไว้หน่อย…
ในคลิปโค้ชหนุ่มอธิบายไว้แล้ว ลองฟังดู!!
คุยต้องรวย หนุ่มมันนี่โค้ช รีไฟแนนซ์ดอกเบี้ยลอยตัวเข้าใจง่ายในคลิปนี้

#คุยต้องรวย “รีไฟแนนซ์,ดอกเบี้ยลอยตัว” เข้าใจง่ายในคลิปนี้!!!

วิธีคิดเปอร์เซ็นต์ แบบง่ายๆ เข้าใจได้ทันที


วิธีคิดเปอร์เซ็นต์ แบบง่ายๆ เข้าใจได้ทันที

วิธีคิดเปอร์เซ็นต์ แบบง่ายๆ เข้าใจได้ทันที

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆWiki

Related Posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *